สำหรับรายวิชาชีพ สาขาวิชาการก่อสร้าง

คู่มือวิชาโดยสังเขป

( Course   Outline )

วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี

เป็นวิชาพื้นฐานในหลักสูตร  ปวส. 1   ภาคเรียนที่  2   สาขาวิชาช่างก่อสร้าง  

 

  1. 1.              หลักสูตร

   วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี   หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง   สาขาวิชาการก่อสร้าง   ชั้นปีที่  1   ภาคเรียนที่     2

  1. 2.              ชื่อวิชา และรหัสวิชา

วิชา  ความแข็งแรงของวัสดุ  รหัส           3100  -  0107 

  1. 3.              วิชาพื้นฐานที่จำเป็น

                      วิชา   กลศาสตร์วิศวกรรม     รหัส  3100 – 0101

  1. 4.              คำอธิบายรายวิชา       

                ศึกษาแนวคิด และองค์ประกอบของความเค้น และความเครียด    ความสัมพันธ์ระหว่างความเค้น และความเครียดของวัสดุ  กฎสภาพยืดหยุ่นของฮุก  โมดูลัสความยืดหยุ่น  ความเค้นเนื่องจากอุณหภูมิเปลี่ยนแปลง  ความเค้นในวัสดุซึ่งต่อกันโดยการเชื่อม  และโดยการใช้หมุดย้ำ  ความเค้นในภาชนะความดัน  การบิดของเพลา  ทฤษฏีของคาน  แผนภาพแรงเฉือน และโมเมนต์ดัด  ความเค้นดัด และความเค้นเฉือนในคาน  การหาระยะการแอ่นตัวของคานโดยวิธีโมเมนต์  -  พื้นที่  พื้นฐานการรวมความเค้น  การประยุกต์ความรู้ในงานอาชีพ

  1. 5.              จุดประสงค์รายวิชา

                เมื่อนักศึกษาเรียนจบวิชาความแข็งแรงของวัสดุ รหัส  3100 – 0107 แล้ว นักศึกษาจะต้องมีความ สามารถดังต่อไปนี้

1.   อธิบายคุณสมบัติด้านความแข็งแรงของวัสดุ ความสัมพันธ์ระหว่างความเค้นและความเครียดภายในเนื้อของวัสดุ  กฎสภาพยืดหยุ่นของฮุก  โมดูลัสความยืดหยุ่นได้

2.   คำนวณหาความเค้นและความเครียดในชิ้นส่วนของวัสดุ  เครื่องจักรกล  เพลาและคาน  ความเค้นเนื่องจากอุณหภูมิเปลี่ยนแปลง ได้

3.   วิเคราะห์หาความเค้นในในภาชนะความดันผิวผนังบาง  ความเค้นในวัสดุซึ่งต่อกันโดยการเชื่อม  และโดยการใช้หมุดย้ำได้

4.            อธิบายความหมาย และคำนวณหาแรงบิดในแท่ง และวัสดุทรงกระบอก,ผนังบางได้

5.            อธิบายความหมาย และคำนวณหา และเขียนแผนภาพแรงเฉือน และโมเมนต์ดัดในคานได้

6.            อธิบายความหมาย และสามารถคำนวณหาความเค้นดัด และความเค้นเฉือนในคานได้

7.            อธิบายความหมาย และคำนวณหาระยะการแอ่นตัวของคานโดยวิธีโมเมนต์  -  พื้นที่  ได้

6.  การจัดการสอน             

              เรียน - สอบรวม 54 คาบ ตลอด 18  สัปดาห์   ทฤษฎี  3  คาบ จำนวนหน่วยกิต  3  หน่วยกิต  ไม่มีปฏิบัติ  และนักศึกษาจะต้องใช้เวลาศึกษาค้นคว้านอกเวลา  3  ชั่วโมงต่อสัปดาห์

  1. 7.         คำชี้แจงสำหรับผู้สอน
  2. ผู้สอนศึกษาเนื้อหาวิชา และแผนการจัดการเรียนรู้ให้เข้าใจก่อนทำการสอน และต้องเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อใช้ในการเรียนการสอนตามที่ระบุไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้แต่ละหน่วยการเรียน
  3. ผู้สอนต้องดำเนินการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ครบทุกหน่วยการเรียน
  4. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  แบ่งออกเป็นขั้นตอนดังนี้

     ขั้นที่ 1  นำเข้าสู่บทเรียน ( Motivation )

     ขั้นที่ 2  ให้เนื้อหา ( Information )

     ขั้นที่ 3  ประกอบกิจกรรมการเรียน ( Application )

     ขั้นที่ 4  สรุปผล ( Progress )

     โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  ผู้สอนจะต้องมีทักษะ และความชำนาญในการอภิปรายให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล

  1. การสรุปบทเรียน  เป็นกิจกรรมร่วมระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน หรือจะเป็นกิจกรรมผู้เรียนทั้งหมดได้
  2. หลังจากเรียนครบหัวข้อเรื่องในแต่ละหน่วยการเรียนแล้วให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบ  ผู้สอนจะต้องเก็บข้อมูลผลการเรียน  จัดทำประวัติการเรียนของผู้เรียน  เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และความก้าวหน้าของผู้เรียน
    1. 8.          บทบาทผู้เรียน

      เนื่องจากแผนการจัดการเรียนรู้วิชานี้เป็นแผนการจัดการเรียนรู้สำหรับครูผู้สอนเป็นผู้ดำเนินการ  โดยให้นักศึกษาปฏิบัติกิจกรรมตามบทบาทผู้เรียน  ดังนี้

  1. ผู้เรียนต้องปฏิบัติกิจกรรมคำแนะนำของผู้สอนอย่างเคร่งครัด
  2. ผู้เรียนต้องพยายามทำแบบฝึกหัดอย่างเต็มความสามารถ (คำถามที่ใช้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการเรียนเท่านั้น)

 

 

 

9.  การจัดชั้นเรียน

            การจัดชั้นเรียนสำหรับการสอนภาคทฤษฎี สภาพการจัดชั้นเรียนต้องเหมาะสมกับการเรียนแบบบรรยาย หรือถามตอบ  สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแก่นักศึกษาอย่างทั่วถึง  เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจผ่านเกณฑ์ตามใบประเมินผล

10.  ตำราประกอบการเรียนการสอน

1.    หนังสือกลศาสตร์ของแข็ง สุระเชษฐ์  รุ่งวัฒนพงษ์

2.   หนังสือกำลังวัสดุ  สิริศักดิ์ ปโยธรสิริ

3.    หนังสือกลศาสตร์ของวัสดุ  รศ. มนตรี  พิรุณเกษตร

4.    STRUCTURAL ANALYSIS    RUSSELL CHARLES HIBBELER

5.    MECHANICS of  MATERIALS    RUSSELL CHARLES HIBBELER

9.  อุปกรณ์ที่นักศึกษาใช้ประกอบการเรียน

                1.    เครื่องคำนวณ

2     สมุดจดบันทึก

10.  สื่อการเรียนการสอน

1.     เครื่องฉายภาพ LCD

2.     กระดาน ( White Bord ) , ปากกาเขียน ( White Bord )

3.      เอกสารประกอบการสอน

4.      แบบจำลอง

11.   การประเมินผล

                 ประเมินผลจากการทำแบบฝึกหัด  การปฏิบัติงานที่มอบหมาย และการทำแบบทดสอบ  สำหรับเฉลยแบบทดสอบจะอยู่ท้ายการจัดการเรียนรู้รายวิชาของหน่วยการเรียนรู้แต่ละหน่วย

12.  เกณฑ์การวัด และประเมินผล  

      การวัด และประเมินผลวิชา ความแข็งแรงของวัสดุ 1 ( 3100  -  0107 )  ได้กำหนดให้ใช้สัดส่วนของคะแนน  ระหว่างภาคต่อคะแนนสอบปลายภาคเท่ากับ 70 : 30 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

  1. 1.                   คะแนนระหว่างภาค                                                                                              70     คะแนน

-                                                   คะแนนความตั้งใจ และกิจนิสัย (คะแนนคุณธรรม-จริยธรรม)        20     คะแนน

-                                                                      คะแนนทดสอบ และแบบฝึกหัด                                                  40     คะแนน

-                                                                      คะแนนงานที่มอบหมายให้ค้นคว้า                                             10     คะแนน

  1. 2.                   คะแนนสอบปลายภาค                                                           30     คะแนน

 

 

  1. 3.                                                      เกณฑ์การประเมินผล

                        ใช้เกณฑ์การประเมินแบบอิงเกณฑ์  มีระดับดังนี้

   80 – 100             คะแนน                 ได้ระดับคะแนน  4

   76 – 79               คะแนน                 ได้ระดับคะแนน  3.5

   70 – 75               คะแนน                 ได้ระดับคะแนน  3

   66 – 69                 คะแนน                          ได้ระดับคะแนน  2.5

   60 – 65               คะแนน                 ได้ระดับคะแนน  2

   56 – 59               คะแนน                 ได้ระดับคะแนน  1.5

   50 – 55               คะแนน                 ได้ระดับคะแนน  1

     0 – 49                 คะแนน                         ได้ระดับคะแนน  0

 

 

 

ศึกษาข้อกำหนดการออกแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก

มาตรฐานการออกแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก

มาตรฐานวัสดุสำหรับออกแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก

น้ำหนักบรรทุกสำหรับออกแบบอาคาร   การคำนวณค่าน้ำหนักบรรทุกสำหรับออกแบบอาคาร